สงกรานต์ 2565
"สงกรานต์ 2565" เล่นน้ำ-ร่วมงานเสร็จ ต้องปฏิบัติตามมาตรการ 3 ข้อ สำคัญมาก
"สงกรานต์ 2565" ปีนี้สามารถจัดได้ แต่เน้นเรื่องประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำ แต่หากจัดสันทนาการ ต้องขออนุญาตเพราะมีคนมาร่วมงาน ในส่วนของระหว่างช่วงงานสงกรานต์ อนุญาตให้เล่นน้ำได้ตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ โดยมีรายละเอียดเงื่อนไขปลีกย่อยที่ควรรู้ ดังต่อไปนี้
พื้นที่เล่นน้ำได้ : จากมติ ศบค. ระบุว่า พื้นที่จัดงานสงกรานต์ที่มีการจัดเตรียมสถานที่และควบคุมกำกับ สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ คือ
อนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น
- การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี
ข้อกำหนดสำคัญในพื้นที่เล่นน้ำได้
ต้องปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และมีการกำกับอย่างเคร่งครัด
- กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน (1 ต่อ 4 ตารางเมตร)
- ผู้ร่วมงานต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน
สิ่งที่ "ห้ามทำ" ในทุกพื้นที่ ประกอบด้วย ประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน
พื้นที่เล่นน้ำ "ไม่ได้" มีที่ไหนบ้าง
พื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ฯลฯ หมายความว่า ประชาชนจะเล่นน้ำสงกรานต์ รวมถึงประแป้ง และปาร์ตี้โฟม บริเวณท้องถนนสาธารณะไม่ได้ เนื่องจากไม่มีการควบคุมตามมาตรการโควิด-19
ส่วนกิจกรรมบันเทิง-สันทนากา นพ.ทวีศิลป์ เปิดเผยว่า หากจะมีเรื่องบันเทิง สันทนาการ จะต้องมีการขออนุญาตตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะเป็นผู้พิจารณ
เล่นน้ำ หรือ "สาดน้ำ" ได้หรือไม่
นพ.ทวีศิลป์ ระบุว่า ในกรณี "สาดน้ำ" ระหว่างเล่นน้ำสงกรานต์นั้น ที่ประชุม ศบค.ไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ คงเป็นส่วนที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะต้องพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ เช่น อาจจะต้องจัดหาน้ำมาอย่างสะอาด อยู่ระยะห่าง ก็เป็นหน้าที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาตหรือไม่ ศบค.ให้หลักการกว้างๆ
เมื่อร่วมงานสงกรานต์ หรือ เล่นน้ำสงกรานต์ เสร็จแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการ 3 ข้อ ดังนี้
1. หลังจากกลับจากสงกรานต์ สังเกตอาการตนเอง 7 วัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง และผู้ที่จะไปพบปะผู้คนจำนวนมาก หากพบว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อโควิด-19 ให้ทำการตรวจ ATK
2. ขอให้หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนจำนวนมากโดยไม่จำเป็น ในช่วงการสังเกตอาการ
3. พิจารณามาตรการ Work From Home (WFH) ให้เป็นไปตามความเหมาะสม และการพิจารณาของหน่วยงาน
อ้างอิง: กระทรวงสาธารณสุข