จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลได้กำหนดนโยบายจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม ประกาศ ณ.วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 ดังนี้
จริยธรรม (Ethic) หมายถึง หลักควบคุมการประพฤติปฏิบัติเหมาะสมและถูกต้องของผู้ที่อยู่ร่วมกัน โดยมีพื้นฐานมาจากหลักการทางศีลธรรม ค่านิยม วัฒนธรรมและประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขร่มเย็น
จรรยาบรรณวิชาชีพ (Code of nurses) หมายถึง หลักแห่งความประพฤติหรือมารยาทของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
หลักจริยธรรมวิชาชีพ มี 6 ด้าน ประกอบด้วย
1. การเคารพเอกสิทธิ์ / ความเป็นอิสระ (Respect For Autonomy)
2. การทำประโยชน์ (Beneficence)
3. การไม่ทำอันตราย (Non-malfeasance)
4. ความยุติธรรม / เสมอภาค (Justice)
5. การบอกความจริง (Veracity)
6. ความซื่อสัตย์ (Fidelity)
หลักจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล มี 9 ด้าน ประกอบด้วย
1. พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาลและบริการสุขภาพ
2. พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตา กรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
3. พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงานและประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล
4. พยาบาลยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมนุษย์
5. พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ
6. พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ
7. พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาลและต่อวิชาชีพการพยาบาล
8. พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล
9. พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น
คำประกาศสิทธิผู้ป่วย 9 ข้อ
1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2. ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอ เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดี ผลเสียจากการตรวจรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินอันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต
3. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
4. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และวิชาชีพของผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน
5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตนและมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพหรือเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มีอยู่
6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลของตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยจะให้ความยินยอมหรือเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อประโยชน์โดยตรงของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย
7. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากเป็นผู้เข้าร่วมหรือผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
8. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอตามขั้นตอน ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่ละเมิดสิทธิหรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้อื่น
9. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิตซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
อัตรากำลัง
แบ่งตามตำแหน่งการปฏิบัติงาน
ตำแหน่ง |
ข้าราชการ |
พกส. |
พนก. |
ลูกจ้างประจำ |
ลูกจ้างรายเดือน |
ลูกจ้างรายวัน |
รวม |
พยาบาลวิชาชีพ |
786 |
0 |
0 |
0 |
119 |
1 |
900 |
พยาบาลเทคนิค |
3 |
0 |
0 |
0 |
0 |
0 |
3 |
ผู้ช่วยพยาบาล |
0 |
55 |
2 |
0 |
0 |
14 |
71 |
พนักงานช่วยเหลือคนไข้ |
0 |
244 |
0 |
24 |
0 |
87 |
355 |
อัตรากาลังบุคลากร ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2565
ผู้บริหารทางการพยาบาล